ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย


                 

















                วิวัฒนาการของระบบเครือข่ายได้ผ่านหลายระยะในช่วงเวลา  40  ปีที่ผ่านมา  เริ่มต้นด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เรียกว่า ดัมพ์เทอร์มินอล  (Dump  Terminal) ”   เข้ากับระบบเมนเฟรม  จนกระทั่งปัจจุบันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย PC เวิร์คสเตชัน, เซิร์ฟเวอร์,เราท์เตอร์,สวิตซ์, อุปกรณ์ต่อพ่วง และอื่น ๆ อีกมาก และผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ จะมีเครื่อง PC  ที่ใช้งาน  ส่วนตัวเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายด้วยกลไกธุรกิจในปัจจุบันผู้ใช้เหล่านี้จำเป็นต้องแชร์ข้อมูลซึ่งกันและกันแต่ข้อมูลที่แชร์นั้นต้องการระบบรักษาความปลอดภัยด้วยเหตุนี้หลายบริษัทจึงได้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า  ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ  NOS  (Network  Operating  System ”  เพื่อทำหน้าที่จัดการเครือข่ายซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ มากมาย  ในช่วงแรก ๆ นั้นจะมีเพียงบางบริษัทเท่านั้นที่พัฒนา  NOS  อย่างจริงจัง  เช่น  บานยาน  (Banyan),โนเวล(Novell)และIBMเป็นต้น


        
                ระบบปฏิบัติการเครือข่าย Network Operating System (NOS) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย สำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกันได้ครับ อย่างเช่น ใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน เป็นต้น ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มี คุณสมบัติในการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและ การใช้งานอุปกรณ์ร่วมกันนะครับ รวมทั้งยังมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมูล ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบัน จะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) โดยส่วนประกอบสำหรับการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่บนเครื่องไคลเอนต์ เช่น การติดต่อกับผู้ใช้ การประมวลผล เป็นต้น การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้นเสมือนอยู่บนเครื่องไคลเอนต์เอง ถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่าย
                 1. Netware เป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้นิยมใช้งานในระบบเครือข่ายมากสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ พัฒนาโดยบริษัท Novell จัดเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ทำงานภายใต้ MS-DOS ระบบปฏิบัติการเครือข่าย Netware ในขณะนี้ สรุปได้ดังนี้
                - 1. Personal Netware (Netware Lite)
เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เชื่อมต่อในลักษณะ Peer-to-Peer โดยคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายนั้น จะติดต่อกันในกลุ่มเครือข่าย โดยไม่มีเครื่องใด
เครื่องหนึ่งเป็นเครื่องเซอร์เวอร์โดยเฉพาะ ไม่เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เพราะมีการจัดการเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยค่อนข้างน้อย
                - 2. Netware 3.1x
เป็นระบบเครือข่ายแบบไคลเอ็นต์เซอร์เวอร์ มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งหรือมากกว่าที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูล โดยเฉพาะ Netware 3.12 นั้นยังเป็นที่นิยมใช้กันมากจนถึงปัจจุบัน สามารถต่อเครือข่ายได้สูงสุด 250 ยูสเซอร์ ต่อ 1 เซอร์เวอร์ ปัจจุบันพัฒนา Netware 3.2 แล้ว
                - 3. Netwware 4.xx
เป็นเวอร์ชันที่มีลักษณะคล้ายกับ Netware 3.12 แต่มีรายละเอียดซับซ้อนมากกว่าในเรื่องของการจัดการและการออกแบบโครงสร้าง NDS ในเวอร์ชันนี้สามารถต่อเครือข่ายได้สูงสุด 1000 ยูสเซอร์ และสามารถรองรับซีพียูในการประมวลผลได้มากกว่าหนึ่งตัว
                - 4. Netware 5
เป็นเวอร์ชันที่ใช้สำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่ เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สนับสนุนโปรโตคอลหลายชนิดด้วยกัน เช่น TCP/IP รวมทั้งการติดตั้งระบบเครือข่ายอินทราเน็ต และความสามารถในการจัดการระบบต่าง ๆ เช่น Web-based Management , File System, Javaเป็นต้น

        2. Window NT, Windows 2000 Server เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟต์ จำกัด ประมาณปลายปี 1995 สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มต้นไมโครซอฟต์ต้องการพัฒนาเป็นแอปปลิเคชั่น เซอร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์ได้เป็น
ดาต้าเบสเซอรฟ์เวอร์ และอินเทอร์เน็ตเซอร์ฟเวอร์

                   3. Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่กำเนิดมาบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe) ที่รองรับผู้ใช้จำนวนมากสำหรับระบบเครือข่าย
ในหน่วยงานใหญ่ๆ เป็นโปรแกรมจัดการระบบงาน (Operating system) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง ได้รับการออกแบบโดยห้องปฏิบัติ
การเบลล์ของบริษัท AT&T ในปี คศ. 1969 ถึงแม้ว่าระบบ Unix จะคิดค้นมานานแล้ว แต่ยังเป็นที่นิยมใช้กันมากมาจนถึงปัจจุบัน  โดยเฉพาะ
ระบบ พื้นฐานของอินเตอร์เนต เนื่องจากมีความคล่องตัวสูง ตลอดจนสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หลายชนิด นอกจากนั้น Unix ยังเป็นระบบ ใช้ในลักษณะผู้ใช้ร่วมกันหลายคน (Mutiuser) และงานหลายงานในขณะเดียวกัน (Mutitasking) ผู้ใช้สามารถดัดแปลง หรือเพิ่มคำสั่งใน Unix ด้วยตนเองเพื่อความสะดวกได้

                 4. Linux เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับระบบเครือข่าย ที่อยู่ในกลุ่มของ FreeWare ที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูง Linux พัฒนาขึ้นโดย
นายไลนัส ทอร์วัลด์ (Linus Torvalds) ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเฮซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เขาได้ส่งซอร์สโค้ด(Source Code) ให้นักพัฒนาทั่วโลกร่วมกันพัฒนา โดยข้อดีของ Linux สามารถทำงานได้พร้อมกัน (Multitasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน(MultiUser) ทำให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย บางคนกล่าวว่า "Linux ก็คือน้องของ Unix" แต่จริงๆ แล้วลีนุกซ์มีข้อดีกว่ายูนิกซ์(Unix) คือสามารถทำงาน ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ที่ใช้งานอยู่ทั่วๆ ไป เพราะว่า Linux เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ทรัพยากรน้อย และมีเสถียรภาพในการดูแล
ระบบได้ดี

                   5. NetBUEI พัฒนาโดย IBM ในปี ค . ศ .1985 เป็นโปรโตคอลที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดทำงานได้รวดเร็ว เหมาะสมกับระบบเครือข่ายที่มีขนาด
เล็ก ไม่เหมาะกับเครือข่ายขนาดใหญ่เนื่องจากไม่สามารถค้นหาเส้นทางได้

                    6. OS/2 Warp เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่าย ที่บริษัทไอบีเอ็ม พัฒนาขึ้น เพื่อนำเสนอสำหรับการค้าขายในยุคดิจิตอลซึ่งไม่ค่อยประสบความ
สำเร็จนักต่อมาจึงเพิ่มในส่วนของ e-Business คือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีการออกแบบเวอร์ชันใหม่ ๆ เช่น OS/2 Server เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

    NetBIOS และ NOS
                NetBIOS เป็น Interface พิเศษ ที่พัฒนาโดย IBM ซึ่งเป็นมาตรฐานในการเข้าถึงบนระบบเครือข่าย NetBIOS ได้รับข้อมูลจากเลเยอร์ที่สูงกว่า และส่งผ่านข้อมูลไปยังระบบเครือข่าย ระบบปฏิบัติการที่ Interface ด้วย NetBIOS เรียกว่า NOS ซึ่งคอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายด้วย NIC Card ซึ่ง NIC Card ต้องการระบบปฏิบัติการพิเศษเพื่อส่งผ่านข่าวสาร ระบบปฏิบัติการ NetBIOSจะเก็บในหน่วยความจำ ROM ของระบบเครือข่ายใน NIC ซึ่ง NetBIOS จะจัดเตรียม Method สำหรับเครือข่ายด้วย Multiple protocol เพื่อเข้าถึงเครือข่าย NetBIOS จะเป็นอิสระจาก hardware ของระบบเครือข่าย
ประเภทของระบบเครือข่าย แบ่งตามขนาดได้ 3 ประเภท
            

                 1. Local Area Network (LAN) เป็นเครือข่ายโดย การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในองค์เดียวกันหรือในพื้นที่ใกล้เคียงกัน มาเชื่อมโยงเข้าเป็นเครือข่าย หรือเรียกว่า ระบบเครือข่ายท้องถิ่นหรือเครือข่ายอินทราเน็ต (Ethernet) เช่น ระบบเครือข่ายอินทราเน็ตของโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม เป็นต้น

         2. Metro Area Network (MAN) เป็นเครือข่ายระดับเมือง เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่อยู่ต่างพื้นที่ หรืออยู่คนละเมืองเข้าด้วยกัน ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่นำมาเชื่อมโยงกัน อาจจะมีการวางโครงสร้างที่ต่างกันก็ได้

                 3. Wide Area Network (WAN) เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่กระจายอยู่ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่เป็นเส้นทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือเป็นการเชื่อมโยง
องค์ประกอบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วย
 1. เครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่องขึ้นไป
               2. การ์ดแลน (Network Interface Card : NIC) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณและควบคุมการรับส่ง ข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย
               3. สื่อกลางในการส่งข้อมูล (Media) ได้แก่ สายเคเบิล คลื่นวิทยุ คลื่นอินฟราเรด เป็นต้น

      4. ระบบปฏิบัติการที่รองรับระบบเครือข่าย แบ่งออกได้ 2 ประเภท
                  4.1 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System : NOS) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย ได้แก่ Netware, Window NT/ Windows 2000 Server, Linux และ Unix เป็นต้น
                4.2 ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Operating System : OS) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ลูกข่าย (Client or Workstation) ได้แก่ MS Dos, Window 95, Window 98/Me, Window 2000, Linux เป็นต้น
     
 5. ฮับ (Hub), สวิตช์ (Switch) คืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย
             บริการต่างๆของระบบปฎิบัติการ NOS
                1. การบริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์ ถือเป็นจุดประสงค์หลักของการสร้างระบบปฏิบัติการเครือข่าย ดังนั้นการบริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์จึงเป็น
บริการหลักที่ระบบปฏิบัติการเครือข่ายทุกประเภทต้องมี เพื่อใช้ในการควบคุมการเข้าใช้ทรัพยากรเหล่านี้
                2. การบริการดูแลและจัดการระบบ หมายถึงการจัดการเกี่ยวกับรายละเอียดของผู้ใช้งาน การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครือข่าย
การเฝ้าดูการทำงานของระบบเครือข่าย เพื่อทราบถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเพื่อให้สามารถแก้ปีญหานั้นได้ทันเวลา
                3. การบริการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ถือเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง เพราะถ้าข้อมูลในระบบเครือข่ายถูกทำลายไปทำให้เกิดความเสียหายได้
นอกจากนี้ข้อมูลบางอย่างที่เป็นความลับขององค์กร จะต้องมีการจำกัดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น
                4. การบริการอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต หมายถึงการบริการทางด้าน DNS Server , Web Server, Mail Server เป็นต้น ซึ่งเป็นการบริการ
ที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในระบบเครือข่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                5. การบริการ MultiProcessing และ Clustering Service การใช้งานผ่านระบบเครือข่ายจะต้องเกี่ยวข้องกับผู้ใช้ังานจำนวน ดังนั้นระบบเครือข่าย
ที่ดี จึงควรเป็นระบบที่มีความเชื่อถือได้ สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย โดยไม่มีผลทำให้การทำงานของเครือ
ข่ายหยุดชะงัก


     ความต้องการของระบบ